เจ้าของธุรกิจ ผู้บริหารองค์กร หรือพนักงานผู้ได้รับมอบหมายในการจัดหา ERP Software ให้กับองค์กร อาจเคยเห็นป้ายโฆษณา Odoo ERP ตามจุดต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร แต่อาจยังไม่ได้มาทำความรู้จักว่า ERP Brand นี้คืออะไร หรืออาจยังไม่เข้าใจว่าระบบ ERP คืออะไรกันแน่ มันเกี่ยวกับ SCM, CRM, KMS หรือเปล่า วันนี้ผมจะมาเล่าให้ทุกคนฟังครับ
“ระบบวางแผนบริหารทรัพยากรองค์กร” ประสานการทำงานระหว่างกิจกรรมทางธุรกิจของส่วนงานต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็น ระบบจัดซื้อจัดจ้าง, ระบบวางแผนการผลิต, ระบบการตลาดและการขาย, ระบบการเงินและการบัญชี, ระบบบริหารทรัพยากรมนุษย์ และระบบอื่น ๆ อีกมากมาย ช่วยให้ข้อมูลภายในองค์กรเป็นหนึ่งเดียวและสามารถใช้ในการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะที่ …
การที่องค์กรของคุณมีระบบ ERP ที่ตอบโจทย์การทำงานเป็นเรื่องที่ส่งผลดีมาก ๆ ทั้งในมุมมองของพนักงานที่มีเครื่องมือช่วยทำงานให้สะดวกยิ่งขึ้น หรือมุมมองของผู้บริหารที่ได้รับข้อมูลอย่างถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว และตรงกับความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ วันนี้ผมสรุป 4 ข้อดีที่ได้รับหลังใช้งานระบบ ERP ดังนี้
แต่อย่างไรก็ตามระบบ ERP ที่มีอยู่หลากหลายในท้องตลาดถูกออกแบบมาให้ตอบโจทย์ตลาดหมู่มาก ในขณะที่แต่ละองค์กรมีบางขั้นตอนการทำงานที่เฉพาะเจาะจง การปรับแต่งระบบ ERP (ERP Customization) และการปรับปรุง Business Process จึงต้องมาเจอกันอยู่ตรงกลางเพื่อให้องค์กรได้รับระบบ ERP ที่ทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงสุดและคุ้มค่ากับค่าใช้จ่าย
ถึงแม้ว่าระบบ ERP จะมีส่วนการทำงานมากมายที่ครอบคลุมหลายธุรกิจ แต่ทุกองค์กรต่างมีความต้องการที่เฉพาะเจาะจงและไม่เหมือนใคร ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการทำงาน ขั้นตอน หรือนโยบายที่แตกต่างกัน จึงเป็นสาเหตุให้การทำ ERP Customization หรือการปรับแต่งระบบ ERP ให้เข้ากับธุรกิจของตนเองเป็นสิ่งสำคัญ และนำมาซึ่งประสิทธิภาพการดำเนินงานที่สูงยิ่งขึ้น
เมื่อเลือกใช้ระบบ ERP หนึ่งในการตัดสินใจที่สำคัญคือการเลือกใช้ระบบแบบ Cloud-based หรือ On-premise ซึ่งทั้งสองแบบมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเข้าใจความแตกต่างหลัก ๆ เพื่อเลือกตัวเลือกที่เหมาะสมกับความต้องการครับ
Cloud-Based ERP เป็นระบบที่ให้บริการอยู่บนเครื่อง Server ของผู้ให้บริการและสามารถเข้าถึงได้ผ่าน Internet หมายความว่าผู้ใช้สามารถเข้าถึงระบบได้จากทุกที่ทุกเวลา ตราบใดที่อุปกรณ์ยังเชื่อมต่อกับ Internet อยู่นั่นเอง
On-premise ERP เป็นระบบที่ติดตั้งและใช้งานบนเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ในสถานที่ของบริษัทเอง ธุรกิจจะต้องรับผิดชอบในการจัดการทั้ง Hardware และ Software
ทั้งนี้ การตัดสินใจระหว่าง Cloud-based และ On-premise ERP ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการที่องค์กรจะต้องคิดอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อให้การใช้งานระบบ ERP นั้นตอบโจทย์กับความต้องการขององค์กรเอง ทั้งเรื่องของขนาดธุรกิจ งบประมาณ ความกังวลด้านความปลอดภัย และความต้องการในการดำเนินงาน
อย่างไรก็ตาม ระบบ ERP บางเจ้าก็มีความพยายามใยนการพัฒนาขึ้นมาปิดช่องว่างในรูปแบบการใช้งานต่าง ๆ อย่างเช่น Odoo ERP ซึ่งผมจะเล่าถึงในลำดับถัดไป เป็นระบบ ERP ที่ตอบโจทย์การให้บริการทั้งแบบ Cloud-Based และ On-Premise (Self-Hosting) อีกทั้งยังมี Community ที่แข็งแกร่งทั้ง Developer Community และ Odoo Official Partner รวมถึงความใส่ใจลูกค้าอันล้นเหลือของทีมงาน Odoo ผู้ดูแลแต่ละภูมิภาคเองเช่นกัน
Odoo ERP ระบบการจัดการทรัพยากรองค์กร (ERP) ที่มี Application (หรือที่เราเรียกกันว่า Module) ที่หลากหลายครอบคลุมทุกด้านของการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่การจัดการลูกค้า (CRM), การจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory), การบัญชี (Accounting), การขาย (Sales), การผลิต (Manufacturer), การจัดซื้อ (Purchasing), ทรัพยากรบุคคล (HRM), ฯลฯ อยู่ในระบบเดียวกัน โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกเชื่อมโยงกันในแต่ละ Application ทำให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดความซับซ้อนของกระบวนการต่าง ๆ ในธุรกิจ
แต่ก่อน Odoo ERP มีชื่อว่า OpenERP เป็นชื่อเปิดมาก็แสดงถึงจุดมุ่งหมายในการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มี ERP ในการใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และมีการพัฒนาต่อยอดมาจนมี 2 รูปแบบ คือ 1) Community Version ที่ยังคงเป็น Open Source และ 2) Enterprise Version ที่มีค่าใช้จ่ายในรูปแบบ Subscription โมเดลธุรกิจนี้ของ Odoo จึงเหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลาง (SME) ที่ต้องการระบบ ERP เป็นอย่างมาก
ด้วยรากฐานการพัฒนาต่อยอดมาจาก Open Source ทำให้ Odoo ERP มีความสามารถในการปรับแต่งระบบให้ตรงกับความต้องการเฉพาะของธุรกิจได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขั้นตอนการทำงาน การเชื่อมต่อกับระบบอื่น ๆ ภายนอก หรือการพัฒนา Application ใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับกระบวนการเฉพาะ Odoo ERP จึงเป็น Solution ที่ครบวงจรและยืดหยุ่นสำหรับธุรกิจที่ต้องการระบบ ERP ที่คุ้มค่าและปรับตัวได้ตามความต้องการ
หลักจากที่เราได้ทำความรู้จักหน้าตาของ Odoo ERP ในเบื้องต้นกันไปแล้ว ผมจะพูดถึงประโยชน์ที่เราจะได้รับจากการใช้งาน Odoo ERP เพื่อช่วยจัดการกระบวนการดำเนินงานทางธุรกิจของเราเป็นข้อ ๆ ดังนี้ครับ
ERP ระบบอื่น ๆ ที่เราเคยได้ยินชื่อมาในตลาดตลอดหลายปี เป็นระบบที่ต้องการการวางแผนและการลงเงินทุนล่วงหน้าจำนวนมาก โดยที่เราไม่อาจทราบได้เลยว่าเมื่อลงทุนไปแล้วจะตอบโจทย์ธุรกิจของเรามากน้อยแค่ไหน แต่ Odoo นำเสนอการให้บริการทั้ง Community Version ที่เป็น Open Source ให้ใช้งานได้แบบฟรี ๆ และรูปแบบการสมัครสมาชิก (Subscription) สำหรับ Enterprise Version ที่ได้มาซึ่ง Application ที่หลากหลายและการสนับสนุนจาก Partner ซึ่งตัวเลือกเหล่านี้ทำให้ธุรกิจทุกขนาดสามารถเข้าถึงฟังก์ชัน ERP ชั้นนำได้ตามความต้องการ และเหมาะสมกับเงินทุนที่มี
Odoo ERP เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถเริ่มต้นจากการใช้เฉพาะ Application ที่ต้องการได้ เช่น CRM, Accounting, Inventory, ฯลฯ และยังสามารถต่อขยายการใช้งานไปได้ตามการเติบโตของธุรกิจโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงระบบทั้งหมด ความสามารถนี้ช่วยให้ธุรกิจปรับตัวได้ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นได้โดยง่าย
การปรับแต่งระบบ เป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่โดดเด่นของ Odoo ERP ทำให้ธุรกิจสามารถปรับแต่งระบบให้ตรงตามความต้องการใช้ที่เฉพาะเจาะจง ไม่ว่าจะเป็นการปรับแต่ง Workflow, การเชื่อมต่อกับ Third-Party Application, หรือพัฒนา Application ใหม่ ๆ ทั้งนี้เป็นข้อดีจากความเป็น Open Source ช่วยให้ธุรกิจสามารถแก้ไขโค้ดตามกระบวนการธุรกิจของตนเองได้
อีกหนึ่งข้อดีของการเป็น Open Source ทำให้ Odoo ได้รับการสนับสนุนจากชุมชนนักพัฒนา (Developer Community) ผู้ใช้ และพาร์ทเนอร์ที่ได้รับการรับรองทั่วโลก ธุรกิจสามารถค้นหาข้อมูล บทแนะนำ การแก้ปัญหาต่าง ๆ ทำให้ธุรกิจได้รับความช่วยเหลือได้ง่ายเมื่อมีความจำเป็น หรือหากธุรกิจที่ต้องการความช่วยเหลือเฉพาะทางในการติดตั้งหรือปรับแต่งระบบ ก็มีที่ปรึกษาจากบุคคลที่สามหรือผู้ให้บริการโดยตรงอีกด้วย
Odoo ERP สามารถใช้งานได้ 3 รูปแบบ ดังนี้
ทั้ง 3 รูปแบบการใช้งานตอบโจทย์ธุรกิจที่แตกต่างกันตามแต่ระดับความต้องการในการ Customize ระบบ ERP ให้ตรงกับ Business Process การเลือกใช้รูปแบบที่เหมาะสมจึงเป็นหนึ่งในจุดเริ่มต้นที่สำคัญ วันนี้ผมจึงจะพามาดูหน้าตาของระบบในเบื้องต้นกันก่อน เพื่อทำความรู้จัก และทำความคุ้นเคยกับ Odoo ERP
เข้าสู่เว็บไซต์ Odoo ERP และคลิกที่ปุ่ม “ลงชื่อเข้าใช้” > “ยังไม่มีบัญชี“ และทำการลงทะเบียนบัญชีผู้ใช้จนเสร็จสิ้น หลังจากนั้นให้ทำการลงชื่อเข้าใช้ด้วย Email & Password
คลิกที่ปุ่ม “สร้าง” ในหน้ารายการฐานข้อมูล และเลือก Application เพื่อทดลองใช้ได้ฟรี 1 Application ในที่นี้เราจะลองเลือก eCommerce Application มาเป็นตัวอย่าง เพื่อจะได้เห็นทั้งระบบ Content Management System (CMS) และระบบ ERP หลังบ้านของ Odoo ครับ หลังจากที่เลือกแล้วให้กรอกข้อมูลตามที่ระบบต้องการให้เสร็จสิ้น
โดยข้อมูล “ชื่อเว็บไซต์” ที่คุณกรอกจะถูกนำไปสร้างเป็น URL สำหรับเข้าถึงระบบ Odoo ERP ของคุณ เช่น คุณตั้งชื่อเว็บไซต์ว่า aideta เมื่อระบบสร้างเสร็จสิ้นแล้วคุณสามารถเข้าถึงระบบของคุณได้ผ่าน URL https://aideta.odoo.com/ (URL ดังกล่าวเป็นเพียงตัวอย่างเว็บไซต์องค์กรที่สร้างจาก Odoo เท่านั้น)
อย่าลืมเข้าไปยืนยันการสร้างระบบที่ทาง Odoo ได้ส่งให้คุณผ่านทาง Email
สร้างหน้าเว็บไซต์ผ่านระบบนำพาของ Odoo ได้ง่าย ๆ เพียง 4 ขั้นตอน เริ่มต้นโดยกดปุ่ม “Let’s do it”
เท่านี้คุณก็จะได้หน้าเว็บไซต์ที่สวยงาม และพร้อมให้คุณนำไปปรับแต่งต่อแล้วครับ ซึ่งในประเด็นนี้ผมจะมาเล่าต่อในภายหลัง สำหรับบทความนี้เรามาดูฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับ ERP ที่หลังบ้านของระบบ Odoo กันก่อน
คลิกที่ไอคอนซ้ายบนของหน้าจอเพื่อเข้าสู่หน้า Home Screen ของระบบหลังบ้าน รายการ Application ที่แสดงอยู่คือส่วนที่ระบบได้ Install ไว้ให้เราแล้ว รวมกับส่วนที่เราได้จากการกดสร้าง eCommerce Application ก่อนหน้านี้ ในขั้นต้นผมขอพูดถึง 2 Applications สำหรับจัดการระบบหลังบ้านอย่าง Apps และ Settings
1. Apps ใช้สำหรับจัดการ Odoo Applications ต่าง ๆ ที่มีพร้อมให้คุณใช้อยู่บนระบบ และเนื่องจากจำนวน Application ที่ Odoo มีมาพร้อมกว่า 100+ Applications จึงมาพร้อมกับระบบค้นหาและคัดกรอง (Search & Filter) ที่มีประสิทธิภาพ และมีการแยกหมวดหมู่ของ Application เอาไว้ให้คุณเลือกดูได้โดยง่าย คุณสามารถจัดการ Install, Uninstall, หรือ Update Version ได้ผ่าน Apps
2. Settings ใช้สำหรับตั้งค่าระบบทั้งหมดของ Odoo ERP โดยจัดแบ่งสัดส่วนตาม Application ต่าง ๆ ที่ได้ติดตั้งไว้อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการปรับแต่งภาษาที่ใช้บนหน้าเว็บ, สีของเว็บและอีเมล, Layout ของอีเมล, หรือการเชื่อมต่อกับบริการภายนอกมากมาย อย่าง OAuth, reCAPTCHA, Unsplash Image, Google, และ Social Media Platform ต่าง ๆ
คุณผู้อ่านสามารถดูรายการ Application และการใช้งานได้ที่เว็บไซต์ทางการของ All Apps | Odoo ซึ่งรวบรวมทุก Application และแสดงให้เห็นหน้าต่างการใช้งานคร่าว ๆ ให้เราได้ทำความเข้าใจในเบื้องต้นและตัดสินใจเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมต่อไป
---
บริษัท AI DETA Technologies มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการให้คำปรึกษา ออกแบบ และพัฒนาระบบสารสนเทศและโซลูชันด้านข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ แก่ องค์กรด้านธุรกิจต่าง ๆ รวมทั้ง ช่วยองค์กรในการทำ Digital Transformation, Cloud-based Solution and Application และ AI/ML, Data & IT Outsourcing
หากสนใจพัฒนาระบบ หรือรับคำปรึกษา ประเมินราคาค่าออกแบบพัฒนาระบบ เช่น Customized Odoo ERP/Traditional ERP Systems หรือ AI/ML solutions เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจ กรุณาติดต่อ คุณ ตาล อีเมล [email protected] สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
Official Documents
Others