อย่างที่เรารู้กันดีว่า AI มีศักยภาพให้เราสามารถนำไปใช้งานได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นงานด้านการตลาดที่นำไปช่วยคิดคอนเทนท์ สายงานบริการที่นำไปช่วยตอบแชทลูกค้า รวมถึงสายงานพัฒนาระบบ IT เองก็มี AI เป็นผู้ช่วยในการเขียนโค้ด หรือช่วยหา Solutions ที่เหมาะสมหรือวิธีการแก้ไขข้อผิดพลาดของระบบ ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ AI ที่ออกแบบมาอย่างเฉพาะเจาะจงในสายงานต่าง ๆ ขึ้นมากมาย แถมยังสอดแทรกอยู่ในผลิตภัณฑ์เดิม ๆ ที่เราใช้งานอยู่ได้อีกด้วย
ในสายงานพัฒนาระบบ IT ที่มีเครื่องมือมากมายมาช่วยให้นักพัฒนาระบบสามารถเพิ่ม Productivity ในการดำเนินงานให้มากขึ้น หนึ่งในนั้นคือ GitHub Copilot ที่เราจะยกตัวอย่างขึ้นมาในฐานะที่เป็นผู้ช่วยการเขียนโค้ดที่ขับเคลื่อนด้วย AI Copilot ช่วยนักพัฒนาในหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการสร้างไฟล์ชุดคำสั่งใหม่ การปรับปรุงโค้ดเดิม หรือสร้างเอกสารประกอบ ซึ่งงานเหล่านี้ช่วยให้นักพัฒนาสามารถไปโฟกัสกับการพัฒนาฟังก์ชันใหม่ ๆ แทนที่จะต้องใช้เวลาในการแก้ไขโค้ดเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือแก้ไขบัคที่เหมือนงมเข็มในมหาสมุทร
ทั้ง 3 ข้อที่กล่าวมาเป็นประสบการณ์ตรงภายในองค์กรของเราที่สนับสนุนให้พนักงานมี AI เป็นผู้ช่วยในการดำเนินงาน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมให้เกิดความรวดเร็วในการพัฒนาระบบ ช่วยลดระยะเวลาที่นักพัฒนาจะต้องใช้ไปกับการหา Solution ที่เหมาะสมด้วยการค้นหาทั่วอินเทอร์เน็ต ทำให้นักพัฒนาของเรามีเวลาในแต่ละวันมากขึ้นในการพัฒนาฟังก์ชันการทำงานใหม่ ๆ หรือทำงานอื่น ๆ ทีมีคุณค่ากับองค์กรยิ่งขึ้น นอกจากงานจะเสร็จไวขึ้นแล้ว ก็ยังลดความตึงเครียดของสมาชิกในทีมพัฒนาได้ดีอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การใช้งาน AI เป็นผู้ช่วยในการเขียนโค้ดก็ต้องคำนึงถึงหลากหลายปัจจัยที่อาจทำให้เกิดข้อเสียขึ้นได้ เพราะอาจทำให้มีโค้ดที่ไม่ปลอดภัย หรือไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอค้างอยู่ในระบบ รวมถึงอาจเป็นโค้ดที่ไม่ตรงกับความต้องการหรือข้อจำกัดของลูกค้าที่นำระบบไปใช้งาน นักพัฒนาจึงไม่ควรใช้โค้ดที่เขียนโดย AI ทั้งหมด 100% โดยไม่ผ่านการตรวจสอบอย่างถี่ถ้วน แต่ควรตรวจสอบและแก้ไขปรับปรุงโค้ดให้เหมาะสมก่อนเสมอ
รวมถึงในกรณีที่นักพัฒนาในระดับ Junior เองที่หากใช้ผลลัพธ์ที่ได้จาก AI โดยตรง โดยไม่ผ่านการคิดวิเคราะห์ของตนเองเลย นอกจากจะเกิดความเสี่ยงในขั้นต้นที่ได้กล่าวไว้แล้ว ก็ยังไม่เกิดการเรียนรู้ ไม่เกิดการพัฒนาศักยภาพของตนเอง และอาจนำพาตัวเองเข้าสู่วังวนของประโยคที่ว่า “ผู้ที่ไม่มีทักษะการใช้งาน AI จะถูกแทนที่ด้วยผู้ที่ใช้ AI เป็น”
GitHub Copilot เป็นเครื่องมือที่ถูกนำเสนอเป็นผลิตภัณฑ์ภายใต้ชื่อ GitHub และสามารถใช้ผ่าน VSCode Extension ได้โดยตรง เพียงแค่เชื่อมต่อบัญชีผู้ใช้ GitHub ที่มีสิทธิ์ในการใช้งาน GitHub Copilot เท่านั้น ซึ่งก็มีทั้งรูปแบบฟรีให้ทดลองใช้งาน และแบบเสียเงินในราคาเริ่มต้น $10 ต่อเดือน หรือใครมีสิทธิ์ของสถาบันการศึกษา ก็สามารถยื่นเอกสารยืนยันการเป็นนักเรียน/นักศึกษาได้ที่ GitHub Education เพื่อรับสิทธิ์การใช้งานฟรี!
เมื่อติดตั้งและเชื่อมต่อบัญชีเสร็จสิ้นแล้ว คุณก็สามารถใช้งาน GitHub Copilot ได้ผ่าน VSCode ซึ่งทำให้คุณมีผู้ช่วยคอยแนะนำโค้ดให้ทันทีในขณะที่คุณกำลังเขียนอยู่ อีกทั้งคุณยังสามารถแชทเพื่อถาม หรือให้ Copilot ช่วยเขียนโค้ด สร้างไฟล์ใหม่ให้คุณได้เช่นกัน (ศึกษาวิธีการใช้งานได้ที่เว็บไซต์ GitHub Copilot)
สรุปสุดท้ายก่อนปิดบทความนี้ไป การมี GitHub Copilot เป็นผู้ช่วยในการพัฒนา ช่วยเขียนโค้ด คิดหา Solutions เป็นแนวทางที่ประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น ช่วยให้นักพัฒนาสามารถนำเวลาไปลงกับการเขียนฟังก์ชัน พัฒนาระบบใหม่ ๆ ให้กับองค์กร ก่อให้เกิดคุณค่าทางธุรกิจที่มากกว่า อย่างไรก็ตามการใช้งาน AI อย่างเดียวโดยไม่นำผลลัพธ์ไปผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์เสียก่อนก็อาจก่อให้เกิดข้อเสียมากกว่าข้อดี ดังนั้นจึงควรใช้ AI ให้เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกที่ช่วยส่งเสริมศักยภาพในการทำงานของตัวพนักงานให้สูงขึ้น
หากคุณเป็นองค์กรที่มีงานพัฒนาระบบ IT และภายในองค์กรเองก็มีฐานข้อมูลองค์ความรู้ที่จัดเก็บอย่างเป็นระบบอยู่แล้ว อย่าลืมว่าเราสามารถนำองค์ความรู้เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์กับงานผ่าน AI ผู้ช่วยได้เช่นกัน จะดีแค่ไหนหากองค์กรของคุณมี AI ผู้ช่วยในการเขียนโค้ด ที่นอกจากจะอ้างอิงองค์ความรู้ภายนอกแล้ว ก็ยังผสานองค์ความรู้ภายในองค์กรเข้าด้วยกัน ทำให้องค์กรของคุณมี AI ผู้ช่วยที่เป็นของคุณโดยเฉพาะ และยังช่วยรักษาความลับองค์กรไว้ได้อีกด้วย
---
AI DETA มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศ, การพัฒนาระบบ ERP และการปรับแต่ง Odoo ERP, การพัฒนาและจัดการ Cloud-Based Solution/Application, โซลูชันด้านข้อมูล การเรียนรู้ของเครื่องจักร และปัญญาประดิษฐ์ (Data/ML/AI Solution), รวมถึงการ Subcontract, Outsource, และ Consult ให้แก่องค์กรต่าง ๆ และพวกเราพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการทำ Digital Transformation ให้กับองค์กรของคุณ
หากมีความสนใจให้พวกเราเป็นผู้พัฒนาระบบหรือให้คำปรึกษา หรือต้องการสอบถามอัตราค่าบริการต่าง ๆ สามารถติดต่อได้ทางอีเมล [email protected] หรือดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ https://aideta.com